ดอกซากุระ

ดอกซากุระ
ดอกซากุระ ดอกไม้ประจำชาติญี่ปุ่น

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ความอัศจรรย์ ของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
...พระพุทธศาสนา ชี้ทางดำเนินชีวิตที่ปราศจากโทษ ช่วยให้เกิดความเจริญร่มเย็นได้อย่างแท้จริง เพราะมีคำสั่งสอนที่มีลักษณะพิเศษ ประเสริฐ ในประการที่อาศัยเหตุผลอันถูกต้อง เที่ยงธรรมตามความเป็นจริงพื้นฐาน และแสดงคำอธิบายที่ครบถ้วน ชัดเจน อันบุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองตาม และหยิบยกขึ้นปฏิบัติ
เพื่อความสุขความเจริญ และความบริสุทธิ์ได้ ตามความสามารถและอัธยาศัยของตน
...จึงเป็นศาสนาที่เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นประโยชน์ได้แท้จริงแก่ทุกคน ที่พอใจจะหันเข้ามาศึกษา
เลือกสรรหัวข้อธรรมที่เหมาะสมไปปฏิบัติ...
พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
พระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๙

อานิสงส์ของการสวด พระพุทธคุณ

...พาหุงมหาการุณิโก นั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมมหาศาสดา จากพญาวสวัตดมาร จากอาฬวกยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลิมาล จากนางจิญจมาณวิกา จากสัจจกนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และจากพกพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้
...ขอให้ท่านพร้อมสมาชิกในครอบครัว ได้สวดมนต์กันทุกคน ทุกครอบครัว เพื่อเป็นมรดกในชีวิต จะเกิดฐานะดี มีปัญญา จะได้มีความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไปในชีวิต ขอให้ท่านชวนลูกหลานทุกๆคน สวดมนต์ก่อนนอน ถ้าท่านทั้งหลายมีความตั้งใจ ศรัทธา และเชื่อมั่น ผลที่ได้รับจาการสวดมนต์จี้ คือ
...๑. ลูกหลานจะมีระเบียบวินัยที่ดี
...๒. ลุกหลานจะไม่เถียง จะเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ เขาจะรู้ว่าเขาเป็นเด็ก จะวางตัวได้เหมาะสม
...๓. เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว ก็จะเป็นลูกหลานที่ดีของพ่อแม่ เป็นคนดี เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม และประเทศชาติ
...๔. ผู้ที่สวดและปฏิบัติเป็นประจำจะเจริญรุ่งเรืองวัฒนาสถาพร จะรวย จะสวย จะดี มีปัญญา สมประสงค์ในสิ่งที่ดีงามตลอดไปทุกประการ 


"""พระธรรมสิงหบุราจารย์"""
...อ้างอิงจาก::รู้ทันกรรม แก้ไขกรรมได้ทันเวลา หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม...

การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยกัน ( Learning together )

...การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยกัน ( Learning together ): 

                     กรณีการเรียนรู้แบบโครงงาน...

...การเรียนรู้ด้วยกัน ( Learning together ) เป็นเทคนิคหรือรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Collaborative Learning ) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนทำงานในระบบกลุ่มย่อย อันเป็นการส่งเสริม สนับสนุน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ภายในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลสำเร็จร่วมกันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
...รูปแบบการเรียนรู้ด้วยกันเป็นผลงานการศึกษาของจอห์นสันและจอห์นสันในปี  1975 เดิมเรียกว่าเป็นวงกลมการเรียนรู้ รูปแบบนี้กำหนดสถานการณ์และเงื่นไขให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบ่งปันเอกสาร แบ่งงานกันทำ โดยมีองค์ประกอบ เช่น สร้างความรู้พึ่งพากัน จัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน จัดให้มีความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้  ให้มีความรู้เกี่ยวกับทักษะสังคม จัดให้มีกระบวนการกลุ่ม จากหลักการหรือองค์ประกอบดังกล่าวการเรียนรู้ด้วยกันจึงเน้นการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้ผลงานกลุ่ม ในขณะทำงานนักเรียนจะช่วยกันคิดหาคำตอบ หาวิธีการได้มาซึ่งคำตอบ พยามทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทุกคนเข้าใจที่มาของคำตอบ ฯลฯ
...ด้วยหลักการดังกล่าว จึงทำให้มีคำถามว่าถ้าใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยกันมาพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานจะเป็นผลอย่างไร  ดังนั้นกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ได้ให้ความเห็นชอบและสนับสนุนให้นายสมนึก ศรีดาพันธ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ได้ดำเนินการวิจัยศึกษารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกันโดยใช้กรณีการเรียนรู้แบบโครงงาน ใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ครูโรงเรียนประถมศึกษาที่สมัครร่วมโครงการจำนวน 10 โรงเรียน รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และเป็นการวิจัยของโครงการพัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
...การดำเนินงานขณะนี้เป็นขั้นการทดลองใช้รูปแบบซึ่งดำเนินการไปแล้วจำนวน 6 โรงเรียน ผลการศึกษาพบว่าได้ผลงานกลุ่ม( โครงงานอย่างหลากหลาย ) ตามเป้าหมายทุกครั้ง และการสอบถามครู ผู้บริหารสถานศึกษา และนักเรียนพบว่ามีความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยกันระดับมากถึงมากที่สุด

อ้างอิงจาก :

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำสอนของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม

...คนเราย่อมมีศัตรูของชีวิต หรือมีสนิมของชีวิต อยู่รอบด้านจากตัวเอง เพราะความมักได้ ความมักโกรธ
ความมักหลงก็มี จากความเลวทรามของคนอื่นก็มี จากสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยุให้เกิดความคิดชั่วก็มี ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเคราะห์ร้ายที้งนั้่น
...เคราะห์ร้ายก็เหมือนคนร้าย ถ้าใครระวังตัวเป็นประจำ คนร้ายก็ทำร้ายไม่ได้ ใครขาดความระวังตัว
ก็ถูกทำร้ายง่าย เคาระห์ร้่ายก็เช่นเดียวกัน จะทำร้ายคนที่ระวังตัวได้ยาก แต่ทำร้ายคนที่ไม่ระวังตัวทุกเมื่อ
...ความปลอดภัยจากเคราะห์ร้ายทั้งปวง จึงอยู่ที่การรู้จักระวังตัว ระวังความคิด ระวังการพูด ระวังทั่วไป
ดังคำที่กล่าวไว้ว่า อยู่คนเดียวระวังความคิด อยู่กับมิตร ระวังปาก อยู่กับคนหมู่มาก ระวังรอบด้าน....

วิธีลดแรงกรรมในอดีต

อ้างอิงจาก : หนังสือ รู้ทันกรรม แก้ไขกรรมได้ทันเวลา โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม
    ท่านสาธุชนโปรดทราบ กรรมครั้งอดีตนี้แก้ไขไม่ได้ ต้องใช้เขาไปแต่ต้องประเมิน คือ ถึงจะใช้ก็ใช้น้อยลง ถ้ารู้ตัวว่ามีกรรมที่ทำเขาไว้ก็ขออโหสิเสีย พอขออโหสิแล้ว กรรมที่จะใช้ก็จะน้อยลงไป ข้อสำคัญ ต้องไม่มีดอกเบี้ย
    ดอกเบี้ย คือ การสะสมกรรม ทำให้มีดอกมากขึ้น หนี้กรรมเก่ายังใช้ไม่หมด ยังไปขอยืมหนี้ใหม่ สร้างเวรสร้างกรรมกันทำไม อย่าไปสร้างต่อเลย
    ท่านสาธุชนทั้งหลายเอ๋ย จงอโหสิกรรมกันเถิด กรรมจะได้ไม่ก่อเกิดในอนาคต เราเลิกโกรธกัน เลิกมีทิฐิต่อกัน เอาไว้อาศัยกันต่อไปในโอกาสหน้าเถิด จิตใจจะได้ประเสริฐด้วยกรรมจาการกระทำของตนเป็นการแก้กรรมปัจจุบันเพื่อไม่ให้ลามไปในอนาคต
   

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำชาล้นถ้วย

จากเอกสารอ้างอิง : นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณ เพื่อจริยธรรม เล่าโดยพุทธทาสภิกขุ ISBN 978-974-409-959-4
เรื่องที่หนึ่ง เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย มีอาจารย์แห่งนิกายเซ็น ชื่อน่ำอิน เป็นผู้มีชื่อเสียงทั่วประเทศ และโปรเฟสเซอร์คนหนึ่ง เป็นโปรเฟสเซอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศ วันหนึ่งโปรเฟสเซอร์ผู้นี้ได้ไปหาอาจารย์น่ำอินเพื่อขอศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเซ็น ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์น่ำอินได้รินน้ำชาลงถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก โปรเฟสเซอร์มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้จึงพูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มันลงไปได้อย่างไร" ประโยคอย่างนี้แสดงว่าโมโห ท่านอาจารย์น่ำอินจึงตอบว่า "ถึงท่านเองก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไรลงไปได้อย่างไร เพราะว่าท่านเต็มอยู่ด้วย Opinions และSpeculationsของท่านเอง" คือว่าเต็มไปด้วยความคิดความเห็นตามความยึดมั่นถือมั่นของท่านเอง สองอย่างนี้แหละมันทำให้เข้าใจพุทธศาสนาอย่างเซ็นไม่ได้ เรียกว่าถ้วยชามันล้น ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย จะเตือนสติเด็กของเราให้รู้สึกนึกคิดเรื่องอะไรล้น อะไรไม่ล้น ได้อย่างไร ขอให้ช่วยกันหาหนทางในครั้งโบราณในอรรถกถาได้เคยกระแหนะกระแหนถึงพวกพราหมณ์ที่เป็นทิศาปาโมกข์ ต้องเอาเหล็กมาตีเป็นเข็มขัด คาดท้องไว้เนื่องด้วยกลัวท้องจะแตกเพราะวิชาล้น นี้จึงเป็นเรื่องที่มีความหมายอย่างไรก็ลองคิดดู พวกเราอาจล้นหรืออัดอยู่ด้วยวิชาทำนองนั้นจนอะไรใส่ลงไปอีกไม่ได้ หรือความล้นนั้นมันออกมาอาละวาดเอาบุคคลอยู่บ่อยๆบ้างกระมัง? แต่เราคิดดูก็จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ล้นนั้นคงจะเป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนที่ร่างกายรับเอาไว้ได้ก็คงเป็นส่วนที่มีประโยชน์ ฉะนั้นจริยธรรมแท้ๆไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่าจริยธรรมหรือธรรมะแท้ๆไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่าจริยธรรมหรือธรรมะแท้ๆนั้นมีอาการล้นได้ไหม ถ้าล้นไม่ได้ ถ้าล้นไม่ได้ก็หมายความว่าสิ่งที่ล้นนั้นมันก็ไม่ใช่จริยธรรม ไม่ใช่ธรรมะ ล้นออกไปเสียให้หมดก็ดีเหมือนกัน หรือถ้าจะพูดอย่างลึกเป็นธรรมะลึกก็ว่า จิตแท้ๆไม่มีวันล้น อ้ายที่ล้นนั้นมันเป็นของปรุงแต่งจิตไม่ใช่ตัวจิตแท้ มันล้นได้มากมาย แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่รู้ว่าจิตแท้คืออะไร? อะไรควรจะเป็นจิตแท้และอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ใช่จิตแท้ คือเป็นเพียงความคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะล้นไหลไปเรื่อย นี่แหละรีบค้นหาให้พบสิ่งที่เรียกว่าจิตจริงๆกันเสียสักทีก็ดูเหมือนจะดี ในที่สุดท่านจะพบตัวธรรมะอย่างสูง ที่ควรแก่นามที่จะเรียกว่าจิตแท้หรือจิตเิดิมแท้ ซึ่งข้อนั้นได้แก่ภาวะแห่งความว่าง จิตที่ประกอบด้วยสภาวะแห่งความว่างจาก "ตัวกู ของกู" นั่นแหละคือจิตแท้ ถ้าว่างแล้วมันจะเอาอะไรล้น? นี่เพราะเนื่องจากไม่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไร จึงบ่นกันแต่เรื่องล้น การศึกษาก็ถูกบ่นว่าล้น และที่ร้ายกาจที่สุดก็คือที่พูดว่าศาสนานี้เป้นส่วนที่ล้น จริยธรรมเป็นส่วนที่ล้น คือส่วนที่เกิน คือเกินต้องการ ไม่ต้องเอามาใส่ใจไม่ต้องเอามาสนใจ เขาคิดว่าเขาไม่ต้องเกี่ยวกับศาสนาหรือธรรมะเลย เขาก็เกิดมาได้ พ่อแม่ก็มีเงินให้เขาใช้ ให้เขาเล่าเรียน เรียนเสร็จแล้วก้ทำราชการเป็นใหญ่เป็นโตได้ โดยไม่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาเลย ฉะนั้นเขาเขี่ยศาสนาหรือธรรมะออกไป ในฐานะเป็นส่วนล้น คือไม่จำเป็น นี่แหละเขาจัดส่วนล้นให้แก่ศาสนาอย่างนี้ คนชนิดนี้จะต้องอยู่ในลักษณะที่ล้นเหมือนโปรเฟสเซอร์คนนั้น ที่อาจารย์น่ำอินจะต้องรินน้ำชาใส่ให้ดูต่อหน้า โดยทำนองนี้ทั้งนั้น เขามีความเข้าใจผิดล้น ความเข้าใจถูกนั้นยังไม่เต็ม มันล้นออกมาให้เห็นเป็นรูปของมิจฉาทิฏฐิ เพราะเขาเห็นว่าเขามีอะไรๆของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ส่วนที่เป็นธรรมะเป็นจริยธรรมจึงไม่เข้า ขอจงคิดดูให้ดีเถอะว่า นี่แหละคือมูลเหตุที่ทำให้จริยธรรมรวนเรและพังทลาย ถ้าเรามีหน้าที่ที่จะต้องผดุงส่วนนี้แล้ว จะต้องสนใจเรื่องนี้

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ในวิกฤตมักมีโอกาสเสมอ

      ในความเข้าใจของผู้เขียน คำว่า"วิกฤต" คือ การเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ลำบากเป็นทุกข์อย่างมาก โดยอาจเกิดโดยตรงกับตนเองหรือต่อประเทศชาติสังคมส่วนรวม เช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจ ที่เป็นที่รู้จักกัน เช่นวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี2540 ตอนนั้นมีการลดค่าเงินบาทธุรกิจล้มตายกันเยอะ แต่ก็มีบางคนได้อานิสงค์จากการลดค่าเงินบาท วิกฤตน้ำท่วมปีนี้(2554) มีผู้เสียชีวิตประมาณ 600 คน มีการคาดการว่าจะมีผู้ตกงานสูงถึงประมาณ 9แสนกว่าคน ผู้คนที่ถูกน้ำท่วมขังโดยมีความสูงของน้ำ1-2เมตร เป็นเวลานาน 1 เดือน 2 เดือน ได้รับความทุกข์ความยากลำบากในการดำเนินชีวิต ความสูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียรายได้ โอกาสการทำมาหากิน บางคนอาจจะสูญเสียคนที่รักไป เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ถือเป็นวิกฤตที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่เราได้เห็นการร่วมมือกันจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ทหาร ตำรวจ ประชาชนทั่วไป ที่ออกไปช่วยกันแจกจ่ายข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงค์ชีวิต มีการร่วมมือการทำความสะอาดครั้งใหญ่ในพื้นที่ที่น้ำแห้งแล้ว ความมีน้ำหนึ่งใจเดียว ความสามัคคี ความมีเมตตา ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยได้แสดงให้ชาวโลกได้เห็น เป็นความงดงามที่คนไทยได้ร่วมกันสร้างขึ้น บางคนสร้างโอกาสจากวิกฤตนี้โดยการพายเรือรับจ้าง บางคนผลิตที่หุ้มรถกันน้ำเข้าเครื่องยนต์รถก็สร้างรายได้กันไป
      ส่วนตัวผู้เขียนเองนั้นอยู่บ้านแถวสุขุมวิทน้ำไม่ท่วม ได้รับผลกระทบคือว่างงาน ช่วงที่ว่างงานก้เรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน หากิจกรรมให้สมองทำงาน เช่น เรียน Progarm Excel , Access ได้ความรู้มากมาย เป็นต้นเหตุให้เกิดความคิดอยากเอาสิ่งที่ตนเองเรียนรู้และความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่นของผู้เขียน ออกเผยแพร่เพื่อต้องการเรียนรู้ร่วมกันกับคนอื่นๆเพื่อเป็นการขยายฐานความรู้ร่วมกันนั้นเองและเพื่อให้ความรู้ของตนได้สร้างประโยชน์แก่สาธารณบ้าง จึงได้สร้างWebsite Laern Together 3A นี้ขึ้นมา หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างนะครับ
      สรุป ในวิกฤตมักมีโอกาสเสมอ บอกอะไรเรา บอกว่าเราจะสู้กับปัญหาที่เกิดอย่างไรและเอาชนะปัญหานั้นหรือวิกฤตนั้นๆได้อย่างไร เราสามารถมองเห็นโอกาสและสร้างโอกาสดีๆในวิกฤตนั้นได้หรือไม่ หรือเราจะยอมแพ้ต่อปัญหาหรือวิกฤตที่มันได้เกิดขึ้นมาแล้ว